วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์


กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์

               พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537    กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยให้ความคุ้มครองแก่งานที่ทำเสร็จแล้วทุกงาน  โดยไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลิขสิทธิ์  หรือดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานนั้น  เป็นการให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติโปรแกรมคอมพิวเตอร์  สื่อดิจิตอล บทความบนเว็บ  เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

                1. การละเมิดลิขสิทธิ์  ทำซ้ำหรือดัดแปลง  เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน

                2.  ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

                                2.1  วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

                                2.2  ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

                                2.3  ติชม  วิจารณ์  หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

                                2.4  เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

                                2.5  ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคล

อื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย

                                2.6  ทำซ้ำ  ดัดแปลง  นำออกแสดง  หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว

                                2.7  นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

                                2.8  ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้

                                2.9  จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน

                3.  บทกำหนดโทษ  ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท  ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

               พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 

                                พรบ.ฉบับนี้มุ่งเน้นการกำหนดให้ผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลเทียบเท่ากับข้อมูลในรูปแบบกระดาษ โดย พรบ.ฉบับนี้จะเข้ามามีผลในการบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มีอยู่แล้วมิได้เข้ามาแทนที่การ

บังคับใช้กฎหมายฉบับอื่น

                1.  ข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลผูกพันและบังคับใช้ทางกฎหมาย (มาตรา 7)

                2.  การเก็บรักษาเอกสารต้นฉบับต้องมีวิธีการที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้  โดยความหมายไม่

เปลี่ยนแปลงมีความครบถ้วน และสามารถนำมาอ้างอิงในภายหลังได้ (มาตรา 8,12)

                3.  การรับรองลายมือชื่อจะต้องใช้วิธีการที่มีความเชื่อถือได้  โดยสามารถระบุตามเจ้าของลายมือชื่อและสามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อนั้นยอมรับว่าเป็นของตน (มาตรา 9)

                4.  การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35)

              พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

                เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์  หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล  แก้ไข  หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ  สังคม  และความมั่นคงของรัฐ  รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชนสมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว

1.  ลักษณะความผิด

1. การกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์

                1.1  การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ (มาตรา 6)

                1.2  การรบกวนระบบ (มาตรา 10)

2.  การกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์

                2.1  การเข้าถึงข้อมูล (มาตรา 7)

                2.2  การดักข้อมูล (มาตรา 8)

2.3  การรบกวนข้อมูล (มาตรา 9)

2.4  สแปมเมล์ (มาตรา 11)

2.5  การนำเข้า/เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (มาตรา 14)

2.6  การเผยแพร่ภาพตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท (มาตรา 16)

3.  การกระทำผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12)

4.  การใช้ชุดคำสั่งกระทำความผิด (มาตรา 13)

5.  การกระทำความผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 15, มาตรา 26)

6.  การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 17)

2.  การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ 

มาตรา 5  ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน  โทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

3.  การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ 
มาตรา 6   ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ

4.  การกระทำซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง 

มาตรา 12  กำหนดว่าถ้าเป็นการกระทำความผิดที่เป็นการรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 9  หรือ เป็นการรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 10

            1.  ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน  ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่  โทษ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท

             2.  เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ  ความปลอดภัยสาธารณะ  ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือการบริการสาธารณะ  หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ  โทษ  ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี  และปรับตังแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท  ถ้าการกระทำความผิด เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

5.  การใช้ชุดคำสั่งในทางมิชอบ 

มาตรา 13  ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 5   มาตรา 6   มาตรา  7มาตรา  8   มาตรา  9  มาตรา  10  หรือ มาตรา 11  โทษ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

6.  ผู้ให้บริการก็มีความผิดได้ 

มาตรา 15  ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14  ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตนโทษ  ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14  มาตรา  26

7.  ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ 

ไม่น้อยกว่า  90  วันโทษ  ผู้ให้บริการที่ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต


ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

                       1.  ในการเริ่มใช้งานอินเทอร์เน็ตครั้งแรก ควรสอบถามผู้ดูแลระบบถึงข้อกำหนดและระเบียบการใช้เครือข่ายนั้น ๆ  และปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านั้น

                2.  ใช้งานเท่าที่จำเป็น  เมื่อใช้เสร็จควรออกจากระบบทันทีไม่ควรปล่อยเครื่องให้ติดต่อกับระบบตลอดเวลาทั้งที่ไม่ได้ใช้งาน เพราะจะทำให้ผู้อื่นติดต่อเข้าได้ยาก

                3.  ไม่ควรเข้าใช้อินเทอร์เน็ตในบัญชีของผู้อื่น  หรือยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีของตนในการเข้าสู่อินเตอร์เน็ต

                4.  ควรรักษารหัสผ่านของตนไว้เป็นความลับ  หากมีผู้รู้รหัสผ่านควรเปลี่ยนรหัสเสียใหม่ นอกจากนี้ในการกำหนดรหัสผ่าน

                ควรหลีกเลี่ยงการใช้รหัสที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งกับตน เพราะจะทำให้ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีสามารถคาดเดา และเชื่อมโยงเข้าสู่รหัสผ่านอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับข้อมูลและกับระบบได้

                5.  ในกรณีที่ต้องทำงานที่ใช้เวลามาก เช่น  การโอนย้ายข้อมูล  การดาวน์โหลดโปรแกรมฯลฯ ควรเลือกทำในช่วงที่ไม่ค่อยมีผู้ใช้มากนัก

                6.  ควรเปิดจดหมายอ่านเป็นประจำ  และลบจดหมายที่ไม่ต้องการออกเพราะการปล่อยจดหมายทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก  จะทำให้พื้นที่สำหรับเก็บจดหมายในระบบหมด  อันมีผลให้ไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้

                7.  พึงระลึกว่าจดหมายที่ส่งผ่านอินเตอร์เน็ตไม่ได้เป็นเรื่องลับ จึงไม่ควรส่งข้อมูลที่ต้องการให้เป็นความลับ  และไม่ควรใช้ข้อความที่ก้าวร้าวหรือหยาบคาย

                8.  ไม่ควรส่งจดหมายที่มีขนาดใหญ่  เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่  หากจดหมายมีขนาดใหญ่ควรบีบอัดข้อมูลก่อนส่ง และแจ้งให้ผู้รับทราบถึงวิธีการขยายข้อมูลกลับ

                9.  ไม่ควรเขียนจดหมายด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ล้วนๆ เพราะทำให้อ่านยากและตาลายได้ นอกจากนี้ยังเปรียบเสมือนการคุยกันด้วยการตะโกน ซึ่งถือว่าไม่สุภาพ  ควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะเมื่อต้องการเน้นข้อความเท่านั้น

                10.  ระมัดระวังการใช้คำนำหน้าชื่อ  เพราะบางคนถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติ  หากใช้คำนำหน้าชื่อผิดโดยเฉพาะคำนำหน้าชื่อสุภาพสตรี  และผู้ที่มีตำแหน่งต่าง ๆ

เทคนิคการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต


เทคนิคการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต


              การค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา โดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย ระบบจะทำการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง  ไม่ว่าจะอยู่ต้นเรื่อง กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง  เช่น  รายงานการวิจัย  เรื่อง  การปรับปรุงคุณภาพและการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิที่มีความสามารถในการทนแล้งโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม  ผู้ค้นจะต้องดึงคำสำคัญที่อยู่ในชื่อเรื่องออกมาเพื่อใช้ค้นหาจากชื่อเรื่องดังกล่าว พบว่า มี Keyword หลักๆ อยู่ 3 คำ ด้วยกัน  คือ  ข้าวหอมมะลิ, เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม


       การกำหนดหัวข้อที่ต้องการ  เป็นเทคนิคที่ใช้ในการกำหนดหรือระบุหัวเรื่องของข้อทูลที่เราต้องการ  ซึ่งข้อมูลที่ได้ก็จะมีเนื้อหาที่อยู่ในขอบเขตของหัวข้อที่เรากำหนด  เช่น  ต้องการค้นหาข้อมูลโครงงานที่เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ  ก็ทำการกำหนดหัวข้อโดยใช้คำว่า : โครงงานเรื่อง วิธีการลดปริมาณขยะ ผ่านอินเทอร์เน็ต


 การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search) เป็นการค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐาน ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาหรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น  เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด


            การสืบค้นข้อมูลโดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือ การค้นหาโดยใช้ตัวดำเนินการตรรกะ ( Logic Operators ) ค้นหาโดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว  คือ  AND, OR, NOT  เพื่อช่วยกำหนดขอบเขตคำค้นที่ต้องการให้แคบลงหรือกว้างขึ้น  ดังนี้


                                1.  AND (และ) ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อจำกัดหรือลดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง ระบบจะสืบค้นเฉพาะเอกสารที่มีคำแรกและคำที่สอง


ตัวอย่างการใช้       

รูปแบบการใช้งาน                :  สัตว์เลี้ยง AND  แมว
ผลลัพธ์ที่ต้องการ  :  ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่เป็นแมว
อธิบาย                    :  ผลลัพธ์จากการค้นหาจะแสดงเว็บเพจที่ต้องมีคำทั้งสองคำ  คือ สัตว์เลี้ยง และ แมว อยู่ภายในเว็บเพจเดียวกัน

                                2.  OR (หรือ) ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น ระบบจะสืบค้นเอกสารทั้งหมดที่มีคำแรกและคำที่สอง หรือมีคำใดคำหนึ่งปรากฏอยู่


               ตัวอย่างการใช้

รูปแบบการใช้งาน                :  ส้มตำไทย OR ส้มตำปูปลาร้า
ผลลัพธ์ที่ต้องการ  :  ข้อมูลเกี่ยวกับส้มตำไทย  หรือ ส้มตำปูปลาร้า  
อธิบาย                    :  ผลลัพธ์จากการค้นหาจะแสดงเว็บเพจที่มีคำทั้งสองคำหรือคำใดคำหนึ่งปรากฏอยู่ก็ได้

                                3.  NOT (ไม่) ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อจำกัดขอบเขตให้แคบลง ระบบจะสืบค้นเอกสารที่มีเพียงคำแรกเท่านั้น 


                ตัวอย่างการใช้

รูปแบบการใช้งาน                :  สัตว์เลี้ยง NOT แมว
ผลลัพธ์ที่ต้องการ  :  ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ไม่เอาข้อมูลเกี่ยวกับแมว
อธิบาย                    :  ผลลัพธ์จากการค้นหาจะแสดงเว็บเพจที่แสดงผลลัพธ์สัตว์เลี้ยงต่างๆ ยกเว้นแมว
      วิธีการค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
1.  บีบประเด็นให้แคบลง
2.  การใช้คำที่ใกล้เคียง
3.  การใช้คำหลัก (Keyword)
4.  หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข
5.  ใช้เครื่องหมายบวกและลบช่วย

เครื่องหมายบวก "+"   ต้องใช้ติดกับคำหลักเสมอ  ห้ามมีช่องว่างระหว่างเครื่องหมายบวกกับคำหลัก  เช่น  +เศรษฐกิจ+การเมือง  หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฏคำว่า "เศรษฐกิจ"  และ "การเมือง" อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งสองคำหรือ +เศรษฐกิจ  การเมือง  สังเกตเห็นที่คำว่า  "การเมือง"  ไม่ปรากฏเครื่องหมายบวก  "+"  อยู่ข้างหน้า  เหมือนตัวอย่างบน หมายถึง การค้นหาหน้าเอกสารเว็บเพจที่จะต้องปรากฏคำว่า  "เศรษฐกิจ"  ในหน้าเอกสารนั้นอาจจะปรากฏหรือไม่ปรากฏคำว่า "การเมือง"  ก็ได้


                เครื่องหมายลบ  "-"   หมายถึง  เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องไม่ปรากฏคำนั้น  อยู่หน้าเว็บเพจ  เช่น  โรงแรม -รีสอร์ท  หมายถึง  หน้าเว็บเพจนั้นต้องมีคำว่า โรงแรม  แต่ต้องไม่ปรากฏคำว่า  รีสอร์ท  อยู่โดยการใช้งานต้องอยู่ในรูปของ  A  -B  หรือ  +A -B  โดย  A  และ  เป็นคำหลักที่ต้องการค้นหา


            ตัวอย่าง  +มะม่วง  -มะม่วงอกร่อง  -มะม่วงน้ำดอกไม้  หมายถึง  หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฏคำว่า  "มะม่วง" แต่ต้องไม่ปรากฏคำว่า  "มะม่วงอกร่อง"  และ  "มะม่วงน้ำดอกไม้"  อยู่ในหน้าเดียวกัน


6.  หลีกเลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคำประเภท  Natural  Language  หรือเรียกง่ายๆ ว่า  คำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด  หรือเป็นประโยค  ควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี  ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้


7.  Advanced  Search ช่วยในการบีบประเด็นหัวข้อให้แคบลง ทำให้ได้รายชื่อเว็บไซต์ที่ตรงกับความต้องการของมากขึ้น


8.  Help  แต่ละเว็บ  จะมี  ปุ่ม  help  หรือ  Site  map  ไว้คอยช่วยเหลือ  แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม  ซึ่ง  help/site  map  จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย  option  หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์


             9.  การใช้เครื่องหมาย “____  เพื่อค้นหาแบบรวมคำ  การค้นหาแบบหลายคำนั้น google จะไม่ได้ค้นหาคำแบบเรียงติดกัน  แต่จะเป็นการแยกการค้นหาแต่ละคำ  โดยที่คำอาจไม่ได้เรียงติดกัน หากต้องการผลลัพธ์แบบเรียงคำทั้งสองอยู่ติดกัน ควรใช้เครื่องหมาย “____” ให้คำที่ต้องการให้ค้นหาแบบทั้งวลีอยู่ภายใต้เครื่องหมาย

  การตัดปลายคำและการแทนคำ (Trucation)  เป็นการค้นคำเดียวแทนอื่นทุกคำที่มีรากศัพท์เดียวกัน เพื่อรวบรวมคำที่มีการสะกดที่ใกล้เคียงกันหรือเหมือนกัน  หรือกรณีที่เป็นเอกพจน์และพหูพจน์ โดยใช้ตัวอักขระแทน (Wildcard) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ เช่น *  #  ?  !  $  เป็นต้น  มักใช้ในการค้นคำภาษาอังกฤษ  เช่น

หากต้องการค้นเรื่องเกี่ยวกับเด็ก  คำค้นที่ใช้ คือ  child*  จะได้คำเกี่ยวกับเด็กทั้งหมด  เช่น child  children  childhood

หากต้องการค้นเรื่องเกี่ยวกับสตรี  คำค้นที่ใช้คือ wom#n  จะได้ทั้งคำว่า woman  และ women  เป็นต้น

การตัดปลายคำ  ควรระวังไม่ใช้กับคำสั้นเกินไป  เพราะอาจจะได้เรื่องที่ไม่ต้องการออกมาด้วย  เช่น คำว่า  ban*  จะได้คำว่า ban  banana  bandit  bank  banner  เป็นต้น  ซึ่งคำเหล่านี้ไม่สัมพันธ์กันเลย 

 การใช้เครื่องหมายวงเล็บ  เพื่อครอบคลุมในแต่ละส่วนคำสั่งข้อมูลที่ต้องการค้น มักใช้ร่วมกับตรรกบูลีน เพื่อแบ่งคำสั่งบูลีนเป็นส่วนๆ เช่น (television or mass media and children) หมายถึง  ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก  โทรทัศน์ และเด็กกับสื่อมวลชน  เป็นต้น