กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยให้ความคุ้มครองแก่งานที่ทำเสร็จแล้วทุกงาน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลิขสิทธิ์ หรือดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานนั้น เป็นการให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล บทความบนเว็บ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
1. การละเมิดลิขสิทธิ์ ทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน
2. ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
2.1 วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
2.2 ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
2.3 ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
2.4 เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
2.5 ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคล
อื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
2.6 ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
2.7 นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
2.8 ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
2.9 จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน
3. บทกำหนดโทษ ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
พรบ.ฉบับนี้มุ่งเน้นการกำหนดให้ผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลเทียบเท่ากับข้อมูลในรูปแบบกระดาษ โดย พรบ.ฉบับนี้จะเข้ามามีผลในการบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มีอยู่แล้วมิได้เข้ามาแทนที่การ
บังคับใช้กฎหมายฉบับอื่น
1. ข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลผูกพันและบังคับใช้ทางกฎหมาย (มาตรา 7)
2. การเก็บรักษาเอกสารต้นฉบับต้องมีวิธีการที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้ โดยความหมายไม่
เปลี่ยนแปลงมีความครบถ้วน และสามารถนำมาอ้างอิงในภายหลังได้ (มาตรา 8,12)
3. การรับรองลายมือชื่อจะต้องใช้วิธีการที่มีความเชื่อถือได้ โดยสามารถระบุตามเจ้าของลายมือชื่อและสามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อนั้นยอมรับว่าเป็นของตน (มาตรา 9)
4. การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35)
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชนสมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว
1. ลักษณะความผิด
1.
การกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์
1.1 การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ
(มาตรา 6)
1.2 การรบกวนระบบ
(มาตรา 10)
2.
การกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
2.1 การเข้าถึงข้อมูล
(มาตรา 7)
2.2 การดักข้อมูล
(มาตรา 8)
2.3
การรบกวนข้อมูล (มาตรา 9)
2.4
สแปมเมล์ (มาตรา 11)
2.5
การนำเข้า/เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (มาตรา 14)
2.6
การเผยแพร่ภาพตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท (มาตรา 16)
3. การกระทำผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12)
4. การใช้ชุดคำสั่งกระทำความผิด (มาตรา 13)
5. การกระทำความผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา
15, มาตรา 26)
6. การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่
(มาตรา 17)
2. การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
โทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ
มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. การกระทำซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง
มาตรา 12
กำหนดว่าถ้าเป็นการกระทำความผิดที่เป็นการรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 9
หรือ เป็นการรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 10
1.
ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน
ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่
โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
2.
เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือการบริการสาธารณะ
หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
โทษ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
และปรับตังแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิด
เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
5. การใช้ชุดคำสั่งในทางมิชอบ
มาตรา 13
ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา
5 มาตรา 6 มาตรา 7มาตรา 8 มาตรา 9
มาตรา 10 หรือ มาตรา 11 โทษ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. ผู้ให้บริการก็มีความผิดได้
มาตรา 15
ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตนโทษ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา
14 มาตรา 26
7. ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์
ไม่น้อยกว่า 90 วันโทษ ผู้ให้บริการที่ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น