วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต


เทคนิคการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต


              การค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา โดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย ระบบจะทำการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง  ไม่ว่าจะอยู่ต้นเรื่อง กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง  เช่น  รายงานการวิจัย  เรื่อง  การปรับปรุงคุณภาพและการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิที่มีความสามารถในการทนแล้งโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม  ผู้ค้นจะต้องดึงคำสำคัญที่อยู่ในชื่อเรื่องออกมาเพื่อใช้ค้นหาจากชื่อเรื่องดังกล่าว พบว่า มี Keyword หลักๆ อยู่ 3 คำ ด้วยกัน  คือ  ข้าวหอมมะลิ, เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม


       การกำหนดหัวข้อที่ต้องการ  เป็นเทคนิคที่ใช้ในการกำหนดหรือระบุหัวเรื่องของข้อทูลที่เราต้องการ  ซึ่งข้อมูลที่ได้ก็จะมีเนื้อหาที่อยู่ในขอบเขตของหัวข้อที่เรากำหนด  เช่น  ต้องการค้นหาข้อมูลโครงงานที่เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ  ก็ทำการกำหนดหัวข้อโดยใช้คำว่า : โครงงานเรื่อง วิธีการลดปริมาณขยะ ผ่านอินเทอร์เน็ต


 การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search) เป็นการค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐาน ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาหรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น  เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด


            การสืบค้นข้อมูลโดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือ การค้นหาโดยใช้ตัวดำเนินการตรรกะ ( Logic Operators ) ค้นหาโดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว  คือ  AND, OR, NOT  เพื่อช่วยกำหนดขอบเขตคำค้นที่ต้องการให้แคบลงหรือกว้างขึ้น  ดังนี้


                                1.  AND (และ) ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อจำกัดหรือลดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง ระบบจะสืบค้นเฉพาะเอกสารที่มีคำแรกและคำที่สอง


ตัวอย่างการใช้       

รูปแบบการใช้งาน                :  สัตว์เลี้ยง AND  แมว
ผลลัพธ์ที่ต้องการ  :  ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่เป็นแมว
อธิบาย                    :  ผลลัพธ์จากการค้นหาจะแสดงเว็บเพจที่ต้องมีคำทั้งสองคำ  คือ สัตว์เลี้ยง และ แมว อยู่ภายในเว็บเพจเดียวกัน

                                2.  OR (หรือ) ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น ระบบจะสืบค้นเอกสารทั้งหมดที่มีคำแรกและคำที่สอง หรือมีคำใดคำหนึ่งปรากฏอยู่


               ตัวอย่างการใช้

รูปแบบการใช้งาน                :  ส้มตำไทย OR ส้มตำปูปลาร้า
ผลลัพธ์ที่ต้องการ  :  ข้อมูลเกี่ยวกับส้มตำไทย  หรือ ส้มตำปูปลาร้า  
อธิบาย                    :  ผลลัพธ์จากการค้นหาจะแสดงเว็บเพจที่มีคำทั้งสองคำหรือคำใดคำหนึ่งปรากฏอยู่ก็ได้

                                3.  NOT (ไม่) ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อจำกัดขอบเขตให้แคบลง ระบบจะสืบค้นเอกสารที่มีเพียงคำแรกเท่านั้น 


                ตัวอย่างการใช้

รูปแบบการใช้งาน                :  สัตว์เลี้ยง NOT แมว
ผลลัพธ์ที่ต้องการ  :  ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ไม่เอาข้อมูลเกี่ยวกับแมว
อธิบาย                    :  ผลลัพธ์จากการค้นหาจะแสดงเว็บเพจที่แสดงผลลัพธ์สัตว์เลี้ยงต่างๆ ยกเว้นแมว
      วิธีการค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
1.  บีบประเด็นให้แคบลง
2.  การใช้คำที่ใกล้เคียง
3.  การใช้คำหลัก (Keyword)
4.  หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข
5.  ใช้เครื่องหมายบวกและลบช่วย

เครื่องหมายบวก "+"   ต้องใช้ติดกับคำหลักเสมอ  ห้ามมีช่องว่างระหว่างเครื่องหมายบวกกับคำหลัก  เช่น  +เศรษฐกิจ+การเมือง  หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฏคำว่า "เศรษฐกิจ"  และ "การเมือง" อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งสองคำหรือ +เศรษฐกิจ  การเมือง  สังเกตเห็นที่คำว่า  "การเมือง"  ไม่ปรากฏเครื่องหมายบวก  "+"  อยู่ข้างหน้า  เหมือนตัวอย่างบน หมายถึง การค้นหาหน้าเอกสารเว็บเพจที่จะต้องปรากฏคำว่า  "เศรษฐกิจ"  ในหน้าเอกสารนั้นอาจจะปรากฏหรือไม่ปรากฏคำว่า "การเมือง"  ก็ได้


                เครื่องหมายลบ  "-"   หมายถึง  เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องไม่ปรากฏคำนั้น  อยู่หน้าเว็บเพจ  เช่น  โรงแรม -รีสอร์ท  หมายถึง  หน้าเว็บเพจนั้นต้องมีคำว่า โรงแรม  แต่ต้องไม่ปรากฏคำว่า  รีสอร์ท  อยู่โดยการใช้งานต้องอยู่ในรูปของ  A  -B  หรือ  +A -B  โดย  A  และ  เป็นคำหลักที่ต้องการค้นหา


            ตัวอย่าง  +มะม่วง  -มะม่วงอกร่อง  -มะม่วงน้ำดอกไม้  หมายถึง  หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฏคำว่า  "มะม่วง" แต่ต้องไม่ปรากฏคำว่า  "มะม่วงอกร่อง"  และ  "มะม่วงน้ำดอกไม้"  อยู่ในหน้าเดียวกัน


6.  หลีกเลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคำประเภท  Natural  Language  หรือเรียกง่ายๆ ว่า  คำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด  หรือเป็นประโยค  ควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี  ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้


7.  Advanced  Search ช่วยในการบีบประเด็นหัวข้อให้แคบลง ทำให้ได้รายชื่อเว็บไซต์ที่ตรงกับความต้องการของมากขึ้น


8.  Help  แต่ละเว็บ  จะมี  ปุ่ม  help  หรือ  Site  map  ไว้คอยช่วยเหลือ  แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม  ซึ่ง  help/site  map  จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย  option  หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์


             9.  การใช้เครื่องหมาย “____  เพื่อค้นหาแบบรวมคำ  การค้นหาแบบหลายคำนั้น google จะไม่ได้ค้นหาคำแบบเรียงติดกัน  แต่จะเป็นการแยกการค้นหาแต่ละคำ  โดยที่คำอาจไม่ได้เรียงติดกัน หากต้องการผลลัพธ์แบบเรียงคำทั้งสองอยู่ติดกัน ควรใช้เครื่องหมาย “____” ให้คำที่ต้องการให้ค้นหาแบบทั้งวลีอยู่ภายใต้เครื่องหมาย

  การตัดปลายคำและการแทนคำ (Trucation)  เป็นการค้นคำเดียวแทนอื่นทุกคำที่มีรากศัพท์เดียวกัน เพื่อรวบรวมคำที่มีการสะกดที่ใกล้เคียงกันหรือเหมือนกัน  หรือกรณีที่เป็นเอกพจน์และพหูพจน์ โดยใช้ตัวอักขระแทน (Wildcard) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ เช่น *  #  ?  !  $  เป็นต้น  มักใช้ในการค้นคำภาษาอังกฤษ  เช่น

หากต้องการค้นเรื่องเกี่ยวกับเด็ก  คำค้นที่ใช้ คือ  child*  จะได้คำเกี่ยวกับเด็กทั้งหมด  เช่น child  children  childhood

หากต้องการค้นเรื่องเกี่ยวกับสตรี  คำค้นที่ใช้คือ wom#n  จะได้ทั้งคำว่า woman  และ women  เป็นต้น

การตัดปลายคำ  ควรระวังไม่ใช้กับคำสั้นเกินไป  เพราะอาจจะได้เรื่องที่ไม่ต้องการออกมาด้วย  เช่น คำว่า  ban*  จะได้คำว่า ban  banana  bandit  bank  banner  เป็นต้น  ซึ่งคำเหล่านี้ไม่สัมพันธ์กันเลย 

 การใช้เครื่องหมายวงเล็บ  เพื่อครอบคลุมในแต่ละส่วนคำสั่งข้อมูลที่ต้องการค้น มักใช้ร่วมกับตรรกบูลีน เพื่อแบ่งคำสั่งบูลีนเป็นส่วนๆ เช่น (television or mass media and children) หมายถึง  ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก  โทรทัศน์ และเด็กกับสื่อมวลชน  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น